เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 5. สัพพมัตถีติกถา
ฯลฯ วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏอยู่ เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“มีอยู่” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ภิกษุทั้งหลาย หลักการ 3 ประการ คือ
(1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ (3) หลักการบัญญัติ ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว
ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบทกับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง 2 พวก
เป็นผู้ถืออเหตุกวาทะ1 เป็นผู้ถืออกิริยวาทะ2 เป็นผู้ถือนัตถิกวาทะ3 ได้สำคัญหลักการ
3 ประการ คือ (1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ (3) หลักการบัญญัติ ว่าไม่
ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษและ
ถูกคัดค้าน” 4 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่”
สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรนี้ว่า “ท่านพระผัคคุณะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว
ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ ชิวหานั้นมีอยู่หรือ

เชิงอรรถ :
1 อเหตุกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมองไม่มี (สํ.ข.อ. 2/62/307)
2 อกิริยวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความ
เห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (ที.สี.อ. 1/166/145, สํ.ข.อ. 2/62/307)
3 นัตถิกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. 1/168/146,
สํ.ข.อ. 2/62/307)
4 ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) 17/62/100-102

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :215 }